วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานในชุมชน

การปฏิบัติงานในชุมชน

มีการแบ่งหมู่บ้านรับผิดชอบ โดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบหมู่บ้านจะออกปฏิบัติงานในหมู่บ้านที่ตนเองรับผิดชอบทุกงาน เช่น การรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรค งานอนามัยโรงเรียน การออกเยี่ยมในกลุ่มเสี่ยง ถ้างานใดต้องใช้คนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่คนอื่นจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

กลุ่มที่ออกเยี่ยม คือ

- หญิงหลังคลอด ผู้ไม่มาตามนัดรับภูมิคุ้มกันโรค/ฝากครรภ์

- ติดตามผู้ป่วยรับยาวัณโรค / อัมพาต

- โรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

- ผู้ป่วยหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลที่ต้องดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

- ผู้ป่วยจิตเวชที่ Refer มาให้ติดตามเยี่ยม

โดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละหมู่บ้านเป็นผู้ติดตามเยี่ยม โดยออกเยี่ยมช่วงบ่ายในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 13.00 – 16.30 น. นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังออกให้บริการเวชปฏิบัติครอบครัวตามแผนงาน/โครงการ เป้าหมายในการเยี่ยมอย่างน้อย 1 ครั้ง/ครอบครัว/ปี โดยพิจารณาตามสภาพปัญหาของผู้รับบริการซึ่งมีกระบวนการในการทำงาน ดังนี้

1. การสำรวจครอบครัวและชุมชน

- โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

- สำรวจครอบครัวด้วยแฟ้มครอบครัวเพื่อทำความรู้จัก สร้างสัมพันธภาพ ทำให้
รู้ถึงสภาวะสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ระบุกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย พิการ ด้อยโอกาส

- มีการจัดทำแผนที่หมู่บ้าน

- ผังเครือญาติ

- กิจกรรมต่าง ๆ หรือกลุ่มอาชีพในชุมชน

- ที่พึ่งทางสุขภาพของชุมชน

- โครงสร้างขององค์กรชุมชน

2. นำข้อมูลจากการสำรวจมาจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องให้บริการ และเพื่อติดตามดูแลต่อเนื่อง เช่นกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยพิการ

3. คัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ เช่น

- โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป

- มะเร็งเต้านม ในกลุ่มสตรีที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

4. ประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการรณรงค์ต่าง ๆ ของสถานบริการ เช่น การตรวจมะเร็งปากมดลูก คลินิกความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มาให้บริการเดือนละ1ครั้ง(ระบุตามแผน) เป็นต้น

ตารางการให้บริการ รพ.สต.บ้านหางแมว

ตารางการให้บริการ

วัน/เวลา

08.30 น. 12.00 น.

12.00-
13.00 น.

13.00-16.30 น.

16.30-08.30 น.

จันทร์

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น

พักรับประทานอาหาร

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/เยี่ยมบ้าน

ให้บริการกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน

อังคาร

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/

ฝากครรภ์

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/เยี่ยมบ้าน

พุธ

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/เยี่ยมบ้าน

พฤหัสบดี

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/

วางแผนครอบครัว

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/เยี่ยมบ้าน

ศุกร์

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/

อนามัยโรงเรียน

หมายเหตุ

- ให้บริการฉีดวัคซีนเด็ก วันพุธที่1 และพุธที่ 3ของทุกเดือน

- บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ตลอดเวลาที่ให้บริการ

- กรณีเกินขีดความสามารถส่งต่อโรงพยาบาลแก่งหางแมว

- บริการทันตกรรมเดือนละ1 ครั้ง

- บริการคลินิกความดันโลหิตสูงและคลินิกเบาหวานเดือนละ1 ครั้ง

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้นพบรังสีเอกซ์เรย์เมื่อ 115 ปีที่แล้วในวันนี้


(Wilhelm Conrad Röntgen  พ.ศ. 2388 —  พ.ศ. 2466) 

วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน
วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (Wilhelm Conrad Röntgen - 27 มีนาคม พ.ศ. 2388 — 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ประจำมหาวิทยาลัยเวิร์ซแบร์ก ผู้ค้นพบและสร้าง รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มี ช่วงคลื่น ขนาดที่รู้จักในปัจจุบันว่า รังสีเอกซ์ (x-rays) หรือ รังสีเรนต์เกน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438ความสำเร็จที่ทำให้เรินต์เกนได้รับรางวัลโนเบลรางวัลแรก เมื่อ พ.ศ. 2444
เรินต์เกน ที่สะกดในภาษาเยอรมันว่า "Röntgen" มักสะกดเป็นภาษาอังกฤษโดยทั่วไปว่า "Roentgen" ดังนั้น ในเอกสารวิชาการและการแพทย์เกือบทั้งหมดจึงใช้คำสะกดว่า "Roentgen"

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำแนะนำเกี่ยวกับยาที่อยู่ในบ้าน

วันนี้ขอนำเรื่องข้อปฏิบัติเกี่ยวกับยารักษาโรคภัยไข้เจ็บของเรามาฝาก ลองมาดูคำแนะนำกันนะคะ
•    อ่านฉลากให้ถี่ถ้วนก่อนใช้ยา ควรอ่านให้เข้าใจว่าใช้อย่างไร ต้องใช้ต่อเนื่องจนยาหมดหรือไม่ หรือ ใช้นานเท่าใด ยาบางชนิด เช่นยาปฏิชีวนะ ต้องกินติดต่อกันจนหมด เพื่อให้ได้ผลในการรักษา หรือยาหยอดตา เมื่อเปิดใช้แล้วเกิน 1 เดือน ให้ทิ้งไป เป็นต้น ย้ำว่าต้องปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด
•    นำยาที่เหลืออยู่ไปพบแพทย์ตามนัด หากท่านมีโรคประจำตัวหรือโรคที่ต้องใช้ยาต่อเนื่อง และต้องไปพบแพทย์ตามนัด อย่าลืมนำยาที่เหลืออยู่ไปด้วยทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทราบถึงจำนวนยาที่เหลืออยู่ และสั่งจ่ายยาตามจำนวนที่หักยาเดิมให้พอถึงวันนัดครั้งต่อไป แทนที่จะสั่งยาให้ตามจำนวนวัน ซึ่งทำให้มียาเดิมเหลือค้างอยู่จำนวนหนึ่ง หากแพทย์มีการเปลี่ยนยาให้ใหม่ และท่านใช้ร่วมไปกับยาเดิม จะทำให้ได้รับยามากเกินไปจนอาจเป็นอันตราย แต่ถ้าท่านไม่ใช้ ยาเดิมนั้นก็จะเป็นยาเหลือใช้
•    ไม่ควรซื้อยาบรรเทาอาการคราวละมากๆ ยาบรรเทาอาการ เช่น ลดไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด หลังจากหายแล้วถ้าเหลืออยู่ จะกลายเป็นยาเหลือใช้

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แผนการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

   สรุปวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขของสถานีอนามัยบ้านหางแมว ปี 2553  
    
            จากการประชุมเจ้าหน้าที่, ผู้นำชุมชน อสม. อบต. มีผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน 38 คน ร่วมหาปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์พบว่า ปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั้งในด้านสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงประชาชน
 หลักเกณฑ์คะแนน/ปัญหา ขนาดของปัญหา ความรุนแรงของปัญหา การตะหนักในปัญหาของชุมชน การสูญเสียทางเศรษฐกิจ ความยากหรือง่ายในการแก้ปัญหา รวมคะแนน
มะเร็งปากมดลูกและเต้านม 4 3 2 4 3 16
ไข้เลือดออก 4 3 4 3 4 18
โรคความดัน/เบาหวาน 5 3 4 4 4 20
มาลาเรีย 3 3 4 3 3 16
อุบัติเหตุ 3 3 2 3 3 14