วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง


   การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Examination) ถือเป็นสิ่งแรกที่จะช่วยให้ผู้หญิงทุกคนป้องกันตนเองจากมะเร็งเต้านม การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อให้รู้สึกถึงธรรมชาติของเต้านม และเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะสามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง โดยควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยตรวจเดือนละครั้ง
   ขั้นตอนและวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Examination : BSE) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
  1. การคลำ     80 – 90% ของมะเร็งเป็นก้อน ดังนั้น การคลำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การคลำไม่ใช่คลำเพื่อหาก้อน แต่ให้รู้สึกถึงธรรมชาติของเต้านมของเรา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะสังเกต และรู้สึกได้ง่าย บริเวณที่จะต้องคลำเริ่มจาก
  • ใต้แขน ถึงบริเวณขอบเสื้อชั้นในด้านล่าง
  • ใต้แขนข้ามมาถึงกระดูกกลาง
  • ขึ้นไปถึงบริเวณไหปลาร้า
  • กลับมายังรักแร้
3 นิ้วที่ใช้สัมผัส
         ใช้บริเวณกึ่งกลางนิ้วส่วนบนทั้งสามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง)
         บริเวณกึ่งกลางนิ้วส่วนบนดังกล่าว จะสัมผัสได้ดีกว่า และมีจุดสัมผัสได้กว้างกว่าส่วนปลายนิ้ว 
         โค้งฝ่ามือเพื่อปรับให้นิ้วทั้งสามอยู่ในสภาพแบนราบ 
         เคลื่อนนิ้ววนเป็นวงกลมเท่าเหรียญบาทในบริเวณที่จะต้องคลำอย่างทั่วถึง


วิธีการกด 3 ระดับ





1.กดเบา ๆ เพื่อให้รู้สึกถึงบริเวณใต้ผิวหนัง
2.กดปานกลาง เพื่อให้รู้สึกถึงกึ่งกลางของเต้านม
3.กดหนักขึ้น เพื่อให้รู้สึกถึงส่วนลึกใกล้ผนังปอด




การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (BREAST SELF EXAMINATION)
   การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นสิ่งแรกที่ผู้หญิงทุกคนสามารถช่วยป้องกันตนเองจากมะเร็งเต้านม การตรวจเต้านมด้วยตนเองเพื่อให้รู้สึกถึงธรรมชาติ ของเต้านมตนเอง และเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นจะสังเกตได้ด้วยตนเอง
   
   Triple Touch 3 ท่า 3 แบบ 3 นิ้ว 3 ระดับ วิธีการตรวจ 3 ท่า
1.ยืนหน้ากระจก 
 - ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย เปรียบเทียบเต้านมทั้งสองข้างว่ามีการบิดเบี้ยวของหัวนม หรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่ 
 - ประสานมือทั้งสองข้างเหนือศีรษะ แล้วกลับมาอยู่ในท่าเท้าสะเอวพร้อมสำรวจหาสิ่งผิดปกติ 
 - ให้โค้งตัวมาข้างหน้า โดยใช้มือทั้งสองข้างวางบนเข่าหรือเก้าอี้ ในท่านี้เต้านมจะห้อยลงไปตรง ๆ หากมีสิ่งผิดปกติก็จะเห็นได้ชัดมากขึ้น
2.นอนราบ  - นอนในท่าสบายแล้วสอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา (ถ้าต้องการตรวจเต้านมข้างขวา)  - ยกแขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบ ซึ่งจะทำให้คลำก้อนเนื้อได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบน ด้านนอกซึ่งมีเนื้อนมหนามากที่สุดและมีการเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด  - ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง (ของมือซ้าย) คลำทั่วทั้งเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่  - ถ้าต้องการตรวจเต้านมด้านซ้าย ให้สอดหมอนหัวม้วนผ้าใต้ไหล้ซ้าน ยกแขนซ้ายเหนือศีรษะ ใช้มือขวาตรวจ
3.ขณะอาบน้ำ  - สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็ก ให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจบนศีรษะแล้วใช้มือ อีกข้างคลำในทิศทางเดียวกับที่คุณใช้ในท่านอน  - สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้มือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีก ข้างให้ตรวจคลำจากด้านบน







2. การตรวจโดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลง (Visual Inspection)     ข้อสังเกตในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรสังเกตผิวเต้านมด้วยว่า มีปุ่ม ไต เกิดขึ้นหรือไม่ ก้อนในเต้านมมีหลายลักษณะ     การตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่าบีบหัวนมเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการบีบหัวนม เป็นวิธีการหนึ่งของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญใช้ในการตรวจสอบ เพื่อดูว่าเลือดออกที่หัวนมหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งเต้านม

   หากต้องการรายละเอียดหรือสงสัยขั้นตอนต่างๆ สามารถสอบถามได้ที่ รพ.สต.บ้านหางแมว ได้ในเวลาราชการนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น