วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำแนะนำเกี่ยวกับยาที่อยู่ในบ้าน

วันนี้ขอนำเรื่องข้อปฏิบัติเกี่ยวกับยารักษาโรคภัยไข้เจ็บของเรามาฝาก ลองมาดูคำแนะนำกันนะคะ
•    อ่านฉลากให้ถี่ถ้วนก่อนใช้ยา ควรอ่านให้เข้าใจว่าใช้อย่างไร ต้องใช้ต่อเนื่องจนยาหมดหรือไม่ หรือ ใช้นานเท่าใด ยาบางชนิด เช่นยาปฏิชีวนะ ต้องกินติดต่อกันจนหมด เพื่อให้ได้ผลในการรักษา หรือยาหยอดตา เมื่อเปิดใช้แล้วเกิน 1 เดือน ให้ทิ้งไป เป็นต้น ย้ำว่าต้องปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด
•    นำยาที่เหลืออยู่ไปพบแพทย์ตามนัด หากท่านมีโรคประจำตัวหรือโรคที่ต้องใช้ยาต่อเนื่อง และต้องไปพบแพทย์ตามนัด อย่าลืมนำยาที่เหลืออยู่ไปด้วยทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทราบถึงจำนวนยาที่เหลืออยู่ และสั่งจ่ายยาตามจำนวนที่หักยาเดิมให้พอถึงวันนัดครั้งต่อไป แทนที่จะสั่งยาให้ตามจำนวนวัน ซึ่งทำให้มียาเดิมเหลือค้างอยู่จำนวนหนึ่ง หากแพทย์มีการเปลี่ยนยาให้ใหม่ และท่านใช้ร่วมไปกับยาเดิม จะทำให้ได้รับยามากเกินไปจนอาจเป็นอันตราย แต่ถ้าท่านไม่ใช้ ยาเดิมนั้นก็จะเป็นยาเหลือใช้
•    ไม่ควรซื้อยาบรรเทาอาการคราวละมากๆ ยาบรรเทาอาการ เช่น ลดไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด หลังจากหายแล้วถ้าเหลืออยู่ จะกลายเป็นยาเหลือใช้

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แผนการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

   สรุปวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขของสถานีอนามัยบ้านหางแมว ปี 2553  
    
            จากการประชุมเจ้าหน้าที่, ผู้นำชุมชน อสม. อบต. มีผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน 38 คน ร่วมหาปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์พบว่า ปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั้งในด้านสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงประชาชน
 หลักเกณฑ์คะแนน/ปัญหา ขนาดของปัญหา ความรุนแรงของปัญหา การตะหนักในปัญหาของชุมชน การสูญเสียทางเศรษฐกิจ ความยากหรือง่ายในการแก้ปัญหา รวมคะแนน
มะเร็งปากมดลูกและเต้านม 4 3 2 4 3 16
ไข้เลือดออก 4 3 4 3 4 18
โรคความดัน/เบาหวาน 5 3 4 4 4 20
มาลาเรีย 3 3 4 3 3 16
อุบัติเหตุ 3 3 2 3 3 14

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

“ สธ. เตือน!!! ” 6 โรคที่มาพร้อมกับหน้าหนาว



        สธ.เตือน 6 โรคที่มาพร้อมกับภัยหนาว ระบุ หนาวตั้งแต่พ.ย.-ก.พ. ย้ำ ที่ผ่านมามีผู้ป่วยกว่า 5 แสนราย เสียชีวิต 381 ราย ไม่แนะนำให้นำที่นอนเปียกน้ำมาใช้ เพราะมีความชื้นสูง เสี่ยงติดเชื้อง่าย
        ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศที่เย็นลง เอื้อต่อเชื้อโรคบางชนิดเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดโรคติดต่อหลายโรค ที่มักพบบ่อยในฤดูหนาวมี 6 โรค ได้แก่ โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคสุกใสและโรคอุจจาระร่วง กลุ่มประชาชนทีมีความเสี่ยงป่วยง่ายกว่าคนประชาชนทั่วไป ได้แก่ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด โรคโลหิตจาง เนื่องจากมีระดับภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว