เมื่อตื่นขึ้นในยามเช้าได้สัมผัสลมเย็น ทำให้เราทราบว่าเริ่มเข้าฤดูหนาวแล้ว เป็นฤดูที่หลายๆ ท่านอาจจะไม่ชอบเพราะอากาศแบบนี้สามารถทำให้ท่านเกิดอาการไม่สบายหรือที่เรียกกันว่าไข้หัวลม และยังทำให้ผิวนุ่มๆ ของหลายท่านมีปัญหาแห้งแตกเป็นขุยได้ แต่ท่านไม่ต้องกลุ้มใจเพราะเรามีวิธีการดูแลตัวเองรวมถึงการดูแลผิวของท่านในหน้าหนาวมาฝาก
สำหรับข้อแนะนำในการดูแลตัวเองช่วงหน้าหนาวพบว่าบางครั้งท่านอาจจะมีอาการไข้ที่เรียกกันว่าไข้หัวลมเกิดขึ้นได้ ซึ่งมักจะมีอาการรู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ หรือที่เรียกกันว่าครั่นเนื้อครั่นตัว มีอาการมึนศรีษะ และอ่อนเพลีย และอาจมีอาการมีน้ำมูกร่วมด้วยก็ได้ ถ้าท่านมีอาการดังที่กล่าวมานี้ อาหารที่เหมาะสมกับท่านในมื้อนั้นก็คือ แกงส้มดอกแค พร้อมข้าวสวยร้อน ๆ สักจาน แค่นี้ร่างกายคุณก็พร้อมที่จะปรับสมดุลของร่างกายได้ อาการต่าง ๆ ก็จะทุเลาแล้วหายไปในที่สุด เพราะแกงส้มดอกแค มีคุณค่าทั้งทางอาหารและสรรพคุณทางยาที่บรรพบุรุษไทยได้บันทึกไว้มาช้านาน
วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Examination) ถือเป็นสิ่งแรกที่จะช่วยให้ผู้หญิงทุกคนป้องกันตนเองจากมะเร็งเต้านม การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อให้รู้สึกถึงธรรมชาติของเต้านม และเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะสามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง โดยควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยตรวจเดือนละครั้ง
ขั้นตอนและวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Examination : BSE) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. การคลำ 80 – 90% ของมะเร็งเป็นก้อน ดังนั้น การคลำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การคลำไม่ใช่คลำเพื่อหาก้อน แต่ให้รู้สึกถึงธรรมชาติของเต้านมของเรา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะสังเกต และรู้สึกได้ง่าย บริเวณที่จะต้องคลำเริ่มจาก
- ใต้แขน ถึงบริเวณขอบเสื้อชั้นในด้านล่าง
- ใต้แขนข้ามมาถึงกระดูกกลาง
- ขึ้นไปถึงบริเวณไหปลาร้า
- กลับมายังรักแร้
3 นิ้วที่ใช้สัมผัส |
ป้ายกำกับ:
ตรวจเต้านม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
ความหมายของตราสัญลักษณ์ |
ป้ายกำกับ:
อสม.
วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553
“ไม้สามเกรด” ยอดนวัตกรรมสุขภาพวัดขนาดหัวนมหญิง
" ไม้สามเกรด ” ยอดนวัตกรรมสุขภาพ |
สถานีอนามัยหินดาษคิดค้นนวัตกรรม “ไม้สามเกรด” ตรวจหัวนมหญิงตั้งครรภ์ เผยเกือบ 50% มีปัญหา นวัตกรรมใหม่ช่วยได้ แก้หัวนมสั้น แม่ให้นมลูกไม่ได้
นางวรกาญจน์ ชากรแก้ว พยาบาลวิชาชีพ สถานีอนามัยหินดาษ ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ได้นำนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ“ไม้สามเกรด” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจหัวนมในหญิงตั้งครรภ์ โดย นางวรกาญจน์ กล่าวว่า เนื่องจากการตรวจหัวนมในหญิงตั้งครรภ์ที่ผ่านมา จะใช้วิธีการสังเกตด้วยตาว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งไม่มีมาตรฐานทำให้เกิดความผิดพลาดในการแปรผล ส่งผลให้เกิดปัญหามารดาไม่สามารถให้นมบุตรได้ ดังนั้น การตรวจเต้านมอย่างถูกต้อง ถือว่ามีความสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาหัวนมสั้นได้ โดยไม้สามเกรดช่วยลดความผิดพลาดในการตรวจหัวนมหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์เป็นครั้งแรกได้
“การที่มีหัวนมสั้นหรือบอด บุ๋ม จะทำให้ทารกดูดนมแม่ไม่ได้หรือ ดูดนมไม่ติด เด็กเกิดความหงุดหงิด รำคาญ ร้องกวน โยเย ในที่สุดก็ไม่อยากกินนมแม่ ส่วนตัวแม่ก็จะเจ็บหัวนม มีการอาการคัด ตึง เกิดการอักเสบ และให้เด็กกินนมผงแทนนมแม่” นางวรกาญจน์ กล่าว
นางวรกาญจน์ กล่าวต่อว่า ไม้สามเกรดเป็นการนำสิ่งเหลือใช้ในสถานีอนามัยมาดัดแปลง ทำให้ต้นทุนต่ำสามารถตรวจหัวนมหญิงตั้งครรภ์ได้ถูกต้องมีมาตรฐาน ซึ่งวิธีการใช้ก็ง่าย โดยนำไม้ซึ่งที่บริเวณปลายมีการกำหนดเป็น 3 สี คือ สีแดง มีหัวนมยาวจากโค่นถึงปลายยอด 0.1-0.3 เซนติเมตร ซึ่งหัวนมโผล่มานิดเดียว ถือว่าผิดปกติต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน ส่วนสีเหลืองมีหัวนมยาวจากโค่นถึงปลายยอด 0.4-0.6 เซนติเมตร ต้องรีบแก้ไข และสีเขียว หัวนมยาวจากโคนถึงปลายยอด 0.7-1 เซนติเมตร ถือว่าปกติ แต่หากจับหัวนมไม่ติดเลย คือ หัวนมบอดหรือบุ๋ม ซึ่งวิธีการตรวจจะวัดว่าหัวนมอยู่ตรงสีใดของไม้ แล้วจึงแนะนำวิธีการแก้ปัญหา
นางวรกาญจน์ กล่าวอีกว่า หลังจากที่มีการฝากครรภ์หญิงตั้งครรภ์ทุกรายจะได้รับการตรวจประเมินหัวนม, เต้านม และลงบันทึกในสมุดบันทึกการฝากครรภ์ และหากพบปัญหาหัวนมบอด หรือหัวนมสั้นก็จะแนะนำวิธีการแก้ไขหัวนมบอด โดยการใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้วางด้านข้างหัวนมและพยายามดึงแยกออกจากกัน ทำรอบๆ หัวนมซ้ำๆ วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น หลังอาบน้ำติดต่อกัน ก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ ส่วนในรายที่มีปัญหามากอาจเข้ารับการแก้ไขที่สถานีอนามัย โดยใช้วิธีการใช้กระบอกฉีดยาที่นำมาดัดแปลงเป็นที่แก้ไขหัวนมบอด ดึงหัวนมให้ยื่นออกมา
“จากการเก็บข้อมูลในปี 2550-2551 พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาหัวนมสั้น หรือบอด บุ๋ม 46% ซึ่งถือเป็นธรรมชาติของแต่ละคนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ขณะที่ส่วนใหญ่เมื่อตั้งครรภ์หัวนมก็จะใหญ่ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับลูก ดังนั้น เมื่อรู้ปัญหาเร็วก็ทำให้แก้ไขได้ทันท่วงที ซึ่งการใช้ไม้สามเกรดเป็นการช่วยแก้ปัญหาได้อย่างมาก” นางวรกาญจน์ กล่าว
ป้ายกำกับ:
นวัตกรรม,
สถานีอนามัยหินดาษ
วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ความหมายของสัญลักษณ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
สัญลักษณ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล |
สัญลักษณ์เป็นรูปหัวใจ 4 ดวง ร้อยรัดเข้าด้วยกัน หัวใจ 4 ดวงมี ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงสาธารณสุขอยู่ตรงกลาง หัวใจ 4 ดวงถือเป็นกลไกหลักของการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนในตำบล ซึ่งต่อไปนี้จะต้องเดินหน้าด้วย 4 หลักสำคัญ
หัวใจดวงที่ 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
หัวใจดวงที่ 2 ผู้ที่ต้องเข้ามาช่วยทำหน้าที่ในหมู่บ้าน ตำบล และชุมชน คือ อสม.
หัวใจดวงที่ 3 แผนสุขภาพตำบลที่ขณะนี้กำลังร่วมกับ อสม.ทุกตำบล
หัวใจดวงที่ 4 กองทุนสุขภาพตำบล
ป้ายกำกับ:
รพ.สต.
นโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ พบ., อว., MPHM.
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
ทำไมต้องมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล : เรื่องดีๆที่ต้องอธิบาย
ประเทศไทยมีพัฒนาการด้านสุขภาพมายาวนาน ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นมาก เห็นได้จากโรคติดเชื้อสำคัญลดลง อัตราทารกตายและอัตราส่วนมารดาตายลดลงมาก คนไทยมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นมาก และมีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลก่อน คือ การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งทำให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ ทว่าระบบบริการที่มีอยู่ยังไม่อาจทำให้คนใช้บริการได้อย่างถูกที่ถูกทาง ประชาชนมักจะเชื่อถือและไปแออัดอยู่ที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ แม้ว่าโรคส่วนใหญ่ไม่ต้องการแพทย์ในการรักษา โดยเฉพาะแพทย์เฉพาะโรค การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคยังถูกละเลย ลงทุนด้านนี้น้อยทั้งๆที่ต้นทุนต่ำกว่าการรักษาเมื่อเจ็บป่วย และแนวโน้มการเกิดโรคที่เป็นภาระต่อสังคมและประเทศชาติ เปลี่ยนเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมและสามารถป้องกันได้ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และมะเร็ง การยกระดับสถานีอนามัยที่มีกว่า 9 พันแห่ง เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จึงเป็นจุดเปลี่ยนระบบสาธารณสุขครั้งสำคัญที่จะพัฒนาระบบบริการสุขภาพของ ประเทศไทย
ป้ายกำกับ:
รพ.สต.
เรื่องราวเกี่ยวกับบ้านหางแมว
ประวัติบ้านหางแมว
“ บ้านหางแมว ” เป็นหมู่บ้านดั้งเดิม แต่เดิมนั้นจะมีหมู่บ้าน “ แก่งหางแมว ” เพียงหมู่บ้านเดียวซึ่งนับเป็นพี่ และได้มีการตั้งหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ จึงใช้ชื่อหมู่บ้านหางแมวซึ่งนับเป็นน้อง จากหมู่บ้านแก่งหางแมว และได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบันต่อมามีสถานีอนามัยซึ่งเป็นสถานีอนามัยสุด ท้ายที่ก่อตั้งในตำบลขุนซ่อง จึงตั้งชื่อสถานีอนามัยตามชื่อหมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านเป็นคนต่างจังหวัด ส่วนมากจะมีพื้นฐานมาจากภาคอีสาน อพยพเข้ามาตั้งรกรากและจับจองที่ทำกินตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นป่ารก สถานีอนามัยบ้านหางแมวตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่นทำสวนยางพารา ทำไร่มันสำปะหลัง ทำนา ทำสวนผลไม้
ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
สถานีอนามัยบ้านหางแมว ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จันทบุรี อยู่ห่างจากโรงพยาบาลแก่งหางแมวประมาณ 9 กิโลเมตร ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแก่งหางแมวประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรีประมาณ 70 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
· ทิศเหนือ ติดต่อ หมู่ 2 ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
· ทิศใต้ ติดต่อ หมู่ 5 ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
· ทิศตะวันออก ติดต่อ หมู่ 14 และหมู่ 15 ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
· ทิศตะวันตก ติดต่อ หมู่ 11 ตำบลแก่งหางแมว อำเภอแก่งหางแมว
ลักษณะภูมิประเทศในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหางแมว แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
· พื้นที่ดอนสลับราบลุ่ม
· พื้นที่ราบลุ่ม
· พื้นที่ราบลุ่มสลับหุบเขา
ลักษณะภูมิอากาศ
· มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 29-39 องศาเซลเซียส
· ฤดูฝนจะเริ่มมีฝนตกประมาณกลางเดือนพฤษภาคม
· ฤดูหนาวและฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
ปริมาณน้ำฝน
· จะมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1500 – 1800 มิลลิเมตร/ปี
· มีวันฝนตกประมาณ 120-130 วัน/ปี
· เดือนที่มีฝนตกชุก คือเดือน สิงหาคมและเดือนกันยายน
· เดือนที่มีฝนตกน้อยคือเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม
ด้านการศึกษา
· มีจำนวนโรงเรียน 2 แห่ง เป็นโรงเรียนสังกัดโรงเรียนตำรวนตระเวนชายแดน 1 แห่ง เปิดสอนชั้นอนุบาล 1-2 และชั้นประถมศึกษา 1-6 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 196 คน และมีโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จันทบุรี เขต1 จำนวน 1 โรงเรียน เป็นโรงเรียนสาขาวัดขุนซ่องห้องเรียนเคลื่อนที่คลองโป่ง เปิดสอนชั้นประถมศึกษา 1-6 มีจำนวนนักเรียน 74 คน
· มีศูนย์เด็กเล็กสังกัดองค์การปกคลองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง คือศูนย์เด็กเล็กวัดหางแมว มีจำนวนเด็กนักเรียน 30 คน และศูนย์เด็กเล็กวัดคลองโป่งมีจำนวนนักเรียน 20 คน มีครูอัตราจ้างทั้งหมด 4 คน
ด้านการศาสนา
มีวัด 3 แห่ง วัดของศาสนาพุทธ
- วัดหางแมว หมู่ 4
- วัดวังพง หมู่ 4
- วัดคลองโป่ง หมู่ 10
ด้านการปกครอง
มีรูปแบบการปกครองท้องถิ่น คือองค์การบริหารส่วนตำบลขุนซ่อง มีหมู่บ้านในความรับผิดชอบ 3 หมู่บ้านคือ
· หมู่ 4 บ้านหางแมว มีประชากรทั้งหมด 975 คน จำนวนหลังคาเรือน 251 หลังคาเรือน มีพื้นที่การปกครองโดยประมาณ 25,000 ไร่
· หมู่ 10 บ้านคลองโป่ง มีประชากรทั้งหมด 1,035 คน จำนวนหลังคาเรือน 280 หลังคาเรือน มีพื้นที่การปกครองโดยประมาณ 8,536 ไร่
· หมู่ 15 บ้านคลองใหม่ มีประชากรทั้งหมด 698 คน จำนวนหลังคาเรือน 158 หลังคาเรือน มีพื้นที่การปกครองโดยประมาณ 4,375 ไร่
ระบบบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
สถานีอนามัยบ้านหางแมวมีเส้นทางที่เดินทางเข้าออกได้สะดวก 2 ทางคือ
· เส้นทางที่ 1 ออกจากจังหวัดจันทบุรี ตามถนนสุขุมวิท (บางนา-ตราด) ตรงไปทางทิศตะวันตกถึงอำเภอนายายอามที่กิโลเมตร 42 เลี้ยวขวาไปตามถนนสายนายายอาม- ขุนซ่อง ถึงบ้านหนองกวาง (ทางแยกป้อมตำรวจ)เลี้ยวขวา 27 กิโลเมตรจะถึงตัวสถานีอนามัย
· เส้นทางที่ 2 ออกจากจังหวัดจันทบุรีตามถนนสุขุมวิท ถึงตลาดหนองคล้า ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่เลี้ยวขวาไปตามถนนหนองคล้า สุดถนนลาดยางที่ตำบลเขาแก้วอำเภอท่าใหม่จากนั้นเป็นเส้นทางลูกรัง ประมาณ 46 กิโลเมตร
· เส้นทางที่ 3 ออกจากจังหวัดจันทบุรี ไปทางเหนือถนนรักศักดิ์ชะมูล ถึงสามแยกเขาไร่ยา ตรงไปถนนสายน้ำตกกระทิง เข้าเส้นทางบ้านน้ำขุ่น ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏระยะทาง 50 กิโลเมตร
การสาธารณูปโภค
มีระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าภูมิภาคทุกหมู่บ้าน ระบบประปา มีประปาหมู่บ้านหมู่ละ 1 แห่ง บริหารงานโดยสมาชิกอบต.ต.ของแต่ละหมู่บ้าน
การประกอบอาชีพ
· การเกษตรกรรม ในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก แบ่งเป็นสวนยางพารา รองลงมาคือ ทำไร่มันสำปะหลัง ทำสวนผลไม้ ทำนาข้าว ส่วนที่เหลือเป็นผักสวนครัว
· ส่วนของการเลี้ยงสัตว์ส่วนมากเป็นการเลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว
ประชากร
ประชากร ในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหางแมวจากการสำรวจในเดือน มิถุนายน 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,709 คน เป็นเพศหญิง 1,365 คน เป็นเพศชาย 1,344 คน และมีจำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 689 หลังคาเรือน 666 ครอบครัว
1. ประชากรกลุ่มเป้าหมาย
* เด็กแรกเกิดถึง 4 ปี ร้อยละ 4.94
* เด็กอายุ 5-9 ปี ร้อยละ 7.27
* กลุ่มอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 9.00
* วัยทำงานในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 7.16
* วัยทำงาน 15-59 ปี ร้อยละ 68.36
* วัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 10.40
2. กลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ ร้อยละ 52.89 ของกลุ่มเพศหญิงทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 26.65 ของประชากรทั้งหมด
“ บ้านหางแมว ” เป็นหมู่บ้านดั้งเดิม แต่เดิมนั้นจะมีหมู่บ้าน “ แก่งหางแมว ” เพียงหมู่บ้านเดียวซึ่งนับเป็นพี่ และได้มีการตั้งหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ จึงใช้ชื่อหมู่บ้านหางแมวซึ่งนับเป็นน้อง จากหมู่บ้านแก่งหางแมว และได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบันต่อมามีสถานีอนามัยซึ่งเป็นสถานีอนามัยสุด ท้ายที่ก่อตั้งในตำบลขุนซ่อง จึงตั้งชื่อสถานีอนามัยตามชื่อหมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านเป็นคนต่างจังหวัด ส่วนมากจะมีพื้นฐานมาจากภาคอีสาน อพยพเข้ามาตั้งรกรากและจับจองที่ทำกินตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นป่ารก สถานีอนามัยบ้านหางแมวตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่นทำสวนยางพารา ทำไร่มันสำปะหลัง ทำนา ทำสวนผลไม้
ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
สถานีอนามัยบ้านหางแมว ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จันทบุรี อยู่ห่างจากโรงพยาบาลแก่งหางแมวประมาณ 9 กิโลเมตร ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแก่งหางแมวประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรีประมาณ 70 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
· ทิศเหนือ ติดต่อ หมู่ 2 ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
· ทิศใต้ ติดต่อ หมู่ 5 ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
· ทิศตะวันออก ติดต่อ หมู่ 14 และหมู่ 15 ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
· ทิศตะวันตก ติดต่อ หมู่ 11 ตำบลแก่งหางแมว อำเภอแก่งหางแมว
ลักษณะภูมิประเทศในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหางแมว แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
· พื้นที่ดอนสลับราบลุ่ม
· พื้นที่ราบลุ่ม
· พื้นที่ราบลุ่มสลับหุบเขา
ลักษณะภูมิอากาศ
· มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 29-39 องศาเซลเซียส
· ฤดูฝนจะเริ่มมีฝนตกประมาณกลางเดือนพฤษภาคม
· ฤดูหนาวและฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
ปริมาณน้ำฝน
· จะมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1500 – 1800 มิลลิเมตร/ปี
· มีวันฝนตกประมาณ 120-130 วัน/ปี
· เดือนที่มีฝนตกชุก คือเดือน สิงหาคมและเดือนกันยายน
· เดือนที่มีฝนตกน้อยคือเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม
ด้านการศึกษา
· มีจำนวนโรงเรียน 2 แห่ง เป็นโรงเรียนสังกัดโรงเรียนตำรวนตระเวนชายแดน 1 แห่ง เปิดสอนชั้นอนุบาล 1-2 และชั้นประถมศึกษา 1-6 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 196 คน และมีโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จันทบุรี เขต1 จำนวน 1 โรงเรียน เป็นโรงเรียนสาขาวัดขุนซ่องห้องเรียนเคลื่อนที่คลองโป่ง เปิดสอนชั้นประถมศึกษา 1-6 มีจำนวนนักเรียน 74 คน
· มีศูนย์เด็กเล็กสังกัดองค์การปกคลองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง คือศูนย์เด็กเล็กวัดหางแมว มีจำนวนเด็กนักเรียน 30 คน และศูนย์เด็กเล็กวัดคลองโป่งมีจำนวนนักเรียน 20 คน มีครูอัตราจ้างทั้งหมด 4 คน
ด้านการศาสนา
มีวัด 3 แห่ง วัดของศาสนาพุทธ
- วัดหางแมว หมู่ 4
- วัดวังพง หมู่ 4
- วัดคลองโป่ง หมู่ 10
ด้านการปกครอง
มีรูปแบบการปกครองท้องถิ่น คือองค์การบริหารส่วนตำบลขุนซ่อง มีหมู่บ้านในความรับผิดชอบ 3 หมู่บ้านคือ
· หมู่ 4 บ้านหางแมว มีประชากรทั้งหมด 975 คน จำนวนหลังคาเรือน 251 หลังคาเรือน มีพื้นที่การปกครองโดยประมาณ 25,000 ไร่
· หมู่ 10 บ้านคลองโป่ง มีประชากรทั้งหมด 1,035 คน จำนวนหลังคาเรือน 280 หลังคาเรือน มีพื้นที่การปกครองโดยประมาณ 8,536 ไร่
· หมู่ 15 บ้านคลองใหม่ มีประชากรทั้งหมด 698 คน จำนวนหลังคาเรือน 158 หลังคาเรือน มีพื้นที่การปกครองโดยประมาณ 4,375 ไร่
ระบบบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
สถานีอนามัยบ้านหางแมวมีเส้นทางที่เดินทางเข้าออกได้สะดวก 2 ทางคือ
· เส้นทางที่ 1 ออกจากจังหวัดจันทบุรี ตามถนนสุขุมวิท (บางนา-ตราด) ตรงไปทางทิศตะวันตกถึงอำเภอนายายอามที่กิโลเมตร 42 เลี้ยวขวาไปตามถนนสายนายายอาม- ขุนซ่อง ถึงบ้านหนองกวาง (ทางแยกป้อมตำรวจ)เลี้ยวขวา 27 กิโลเมตรจะถึงตัวสถานีอนามัย
· เส้นทางที่ 2 ออกจากจังหวัดจันทบุรีตามถนนสุขุมวิท ถึงตลาดหนองคล้า ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่เลี้ยวขวาไปตามถนนหนองคล้า สุดถนนลาดยางที่ตำบลเขาแก้วอำเภอท่าใหม่จากนั้นเป็นเส้นทางลูกรัง ประมาณ 46 กิโลเมตร
· เส้นทางที่ 3 ออกจากจังหวัดจันทบุรี ไปทางเหนือถนนรักศักดิ์ชะมูล ถึงสามแยกเขาไร่ยา ตรงไปถนนสายน้ำตกกระทิง เข้าเส้นทางบ้านน้ำขุ่น ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏระยะทาง 50 กิโลเมตร
การสาธารณูปโภค
มีระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าภูมิภาคทุกหมู่บ้าน ระบบประปา มีประปาหมู่บ้านหมู่ละ 1 แห่ง บริหารงานโดยสมาชิกอบต.ต.ของแต่ละหมู่บ้าน
การประกอบอาชีพ
· การเกษตรกรรม ในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก แบ่งเป็นสวนยางพารา รองลงมาคือ ทำไร่มันสำปะหลัง ทำสวนผลไม้ ทำนาข้าว ส่วนที่เหลือเป็นผักสวนครัว
· ส่วนของการเลี้ยงสัตว์ส่วนมากเป็นการเลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว
ประชากร
ประชากร ในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหางแมวจากการสำรวจในเดือน มิถุนายน 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,709 คน เป็นเพศหญิง 1,365 คน เป็นเพศชาย 1,344 คน และมีจำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 689 หลังคาเรือน 666 ครอบครัว
1. ประชากรกลุ่มเป้าหมาย
* เด็กแรกเกิดถึง 4 ปี ร้อยละ 4.94
* เด็กอายุ 5-9 ปี ร้อยละ 7.27
* กลุ่มอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 9.00
* วัยทำงานในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 7.16
* วัยทำงาน 15-59 ปี ร้อยละ 68.36
* วัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 10.40
2. กลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ ร้อยละ 52.89 ของกลุ่มเพศหญิงทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 26.65 ของประชากรทั้งหมด
ป้ายกำกับ:
บ้านหางแมว,
ประวัติ
บุคคลากร สถานีอนามัยบ้านหางแมว
………………………………………………
นายกฤติธี ชำนาญศิลป์
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
รับผิดชอบ
หมู่ 10 บ้านคลองโป่ง จำนวน 280 หลังคาเรือน ประชากร 1,035 คน หมู่ 15 บ้านคลองใหม่ จำนวน 158 หลังคาเรือน ประชากร 658 คน
- งานบริหาร
- งานพัสดุ , ครุภัณฑ์
- งานการเงิน , บัญชี
- งานนิเทศควบคุมกำกับงาน
- งานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มอายุ
- งานครวบคุมโรคไม่ติดต่อ
- งานระบบหลักประกันสุขภาพ
- งานโครงการพิเศษ
- งานบริหารเวชภัณฑ์
- งานสุขภาพภาคประชาชน
- งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
- งานสุขาภิบาลอาหาร – ทั่วไป
- งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
- งานธุรการ
- งานสารบรรณ
- ปรับปรุงภูมิทัศน์ของสถานบริการ ภายในและภายนอก
………………………………………………………………………………………………..
นางสาวแสงรยา บุญเปรี่ยม
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
รับผิดชอบ
หมู่ 4 บ้านหางแมว จำนวน 251 หลังคาเรือน ประชากร 975 คน
- งานรักษาพยาบาล
- งานอนามัยแม่และเด็ก
- งานสุขภาพจิตและผู้พิการ
- งานวางแผนครอบครัว
- งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
- งานยาเสพติดและ To be number one
- งานควบคุมโรคติดต่อ / พื้นที่เฉพาะ
- งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
- งานระบาดวิทยา
- งานเอดส์
- งานอนามัยโรงเรียน
- งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
- งานทันตกรรมป้องกัน
- งานส่งเสริมทางทันตกรรม
………………………………………………………………………………………..
ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- งานบันทึกข้อมูลผู้ป่วย
- งานบริการช่วยเหลือผู้ป่วย
- งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
- ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สาธารสุขตามที่ได้รับมอบหมาย
- ประสานงานระหว่างองค์กรอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน
- อำนวยความสะดวกแก่ผู้มารับบริการ
---------------------------------------------------------//---
---//-----------------------------------------------------------
ป้ายกำกับ:
บุคคลากร
วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สถานีอนามัยบ้านหางแมวในปัจจุบัน
สถานีอนามัยบ้านหางแมวในวันนี้ ยังคงพร้อมให้บริการพี่น้องทุกท่านที่มีปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาหรือ รักษาพยาบาล ด้วยบรรยากาศของการดูแลอย่างเป็นกันเองภายใต้สถานที่ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย และด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ที่พร้อมสรรพ มาปัญหาไม่ว่าเรื่องอะไรเรียนเชิญ เข้ารับการบริการได้ในเวลาราชการค่ะ
ป้ายกำกับ:
สถานีอนามัยบ้านหางแมว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)