วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานในชุมชน

การปฏิบัติงานในชุมชน

มีการแบ่งหมู่บ้านรับผิดชอบ โดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบหมู่บ้านจะออกปฏิบัติงานในหมู่บ้านที่ตนเองรับผิดชอบทุกงาน เช่น การรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรค งานอนามัยโรงเรียน การออกเยี่ยมในกลุ่มเสี่ยง ถ้างานใดต้องใช้คนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่คนอื่นจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

กลุ่มที่ออกเยี่ยม คือ

- หญิงหลังคลอด ผู้ไม่มาตามนัดรับภูมิคุ้มกันโรค/ฝากครรภ์

- ติดตามผู้ป่วยรับยาวัณโรค / อัมพาต

- โรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

- ผู้ป่วยหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลที่ต้องดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

- ผู้ป่วยจิตเวชที่ Refer มาให้ติดตามเยี่ยม

โดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละหมู่บ้านเป็นผู้ติดตามเยี่ยม โดยออกเยี่ยมช่วงบ่ายในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 13.00 – 16.30 น. นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังออกให้บริการเวชปฏิบัติครอบครัวตามแผนงาน/โครงการ เป้าหมายในการเยี่ยมอย่างน้อย 1 ครั้ง/ครอบครัว/ปี โดยพิจารณาตามสภาพปัญหาของผู้รับบริการซึ่งมีกระบวนการในการทำงาน ดังนี้

1. การสำรวจครอบครัวและชุมชน

- โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

- สำรวจครอบครัวด้วยแฟ้มครอบครัวเพื่อทำความรู้จัก สร้างสัมพันธภาพ ทำให้
รู้ถึงสภาวะสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ระบุกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย พิการ ด้อยโอกาส

- มีการจัดทำแผนที่หมู่บ้าน

- ผังเครือญาติ

- กิจกรรมต่าง ๆ หรือกลุ่มอาชีพในชุมชน

- ที่พึ่งทางสุขภาพของชุมชน

- โครงสร้างขององค์กรชุมชน

2. นำข้อมูลจากการสำรวจมาจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องให้บริการ และเพื่อติดตามดูแลต่อเนื่อง เช่นกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยพิการ

3. คัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ เช่น

- โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป

- มะเร็งเต้านม ในกลุ่มสตรีที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

4. ประชาสัมพันธ์กิจกรรม/โครงการรณรงค์ต่าง ๆ ของสถานบริการ เช่น การตรวจมะเร็งปากมดลูก คลินิกความดันโลหิตสูงและเบาหวาน มาให้บริการเดือนละ1ครั้ง(ระบุตามแผน) เป็นต้น

ตารางการให้บริการ รพ.สต.บ้านหางแมว

ตารางการให้บริการ

วัน/เวลา

08.30 น. 12.00 น.

12.00-
13.00 น.

13.00-16.30 น.

16.30-08.30 น.

จันทร์

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น

พักรับประทานอาหาร

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/เยี่ยมบ้าน

ให้บริการกรณีอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน

อังคาร

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/

ฝากครรภ์

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/เยี่ยมบ้าน

พุธ

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/เยี่ยมบ้าน

พฤหัสบดี

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/

วางแผนครอบครัว

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/เยี่ยมบ้าน

ศุกร์

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น

ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น/

อนามัยโรงเรียน

หมายเหตุ

- ให้บริการฉีดวัคซีนเด็ก วันพุธที่1 และพุธที่ 3ของทุกเดือน

- บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ตลอดเวลาที่ให้บริการ

- กรณีเกินขีดความสามารถส่งต่อโรงพยาบาลแก่งหางแมว

- บริการทันตกรรมเดือนละ1 ครั้ง

- บริการคลินิกความดันโลหิตสูงและคลินิกเบาหวานเดือนละ1 ครั้ง

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้นพบรังสีเอกซ์เรย์เมื่อ 115 ปีที่แล้วในวันนี้


(Wilhelm Conrad Röntgen  พ.ศ. 2388 —  พ.ศ. 2466) 

วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน
วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (Wilhelm Conrad Röntgen - 27 มีนาคม พ.ศ. 2388 — 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ประจำมหาวิทยาลัยเวิร์ซแบร์ก ผู้ค้นพบและสร้าง รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มี ช่วงคลื่น ขนาดที่รู้จักในปัจจุบันว่า รังสีเอกซ์ (x-rays) หรือ รังสีเรนต์เกน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438ความสำเร็จที่ทำให้เรินต์เกนได้รับรางวัลโนเบลรางวัลแรก เมื่อ พ.ศ. 2444
เรินต์เกน ที่สะกดในภาษาเยอรมันว่า "Röntgen" มักสะกดเป็นภาษาอังกฤษโดยทั่วไปว่า "Roentgen" ดังนั้น ในเอกสารวิชาการและการแพทย์เกือบทั้งหมดจึงใช้คำสะกดว่า "Roentgen"

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำแนะนำเกี่ยวกับยาที่อยู่ในบ้าน

วันนี้ขอนำเรื่องข้อปฏิบัติเกี่ยวกับยารักษาโรคภัยไข้เจ็บของเรามาฝาก ลองมาดูคำแนะนำกันนะคะ
•    อ่านฉลากให้ถี่ถ้วนก่อนใช้ยา ควรอ่านให้เข้าใจว่าใช้อย่างไร ต้องใช้ต่อเนื่องจนยาหมดหรือไม่ หรือ ใช้นานเท่าใด ยาบางชนิด เช่นยาปฏิชีวนะ ต้องกินติดต่อกันจนหมด เพื่อให้ได้ผลในการรักษา หรือยาหยอดตา เมื่อเปิดใช้แล้วเกิน 1 เดือน ให้ทิ้งไป เป็นต้น ย้ำว่าต้องปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด
•    นำยาที่เหลืออยู่ไปพบแพทย์ตามนัด หากท่านมีโรคประจำตัวหรือโรคที่ต้องใช้ยาต่อเนื่อง และต้องไปพบแพทย์ตามนัด อย่าลืมนำยาที่เหลืออยู่ไปด้วยทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทราบถึงจำนวนยาที่เหลืออยู่ และสั่งจ่ายยาตามจำนวนที่หักยาเดิมให้พอถึงวันนัดครั้งต่อไป แทนที่จะสั่งยาให้ตามจำนวนวัน ซึ่งทำให้มียาเดิมเหลือค้างอยู่จำนวนหนึ่ง หากแพทย์มีการเปลี่ยนยาให้ใหม่ และท่านใช้ร่วมไปกับยาเดิม จะทำให้ได้รับยามากเกินไปจนอาจเป็นอันตราย แต่ถ้าท่านไม่ใช้ ยาเดิมนั้นก็จะเป็นยาเหลือใช้
•    ไม่ควรซื้อยาบรรเทาอาการคราวละมากๆ ยาบรรเทาอาการ เช่น ลดไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด หลังจากหายแล้วถ้าเหลืออยู่ จะกลายเป็นยาเหลือใช้

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แผนการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

   สรุปวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขของสถานีอนามัยบ้านหางแมว ปี 2553  
    
            จากการประชุมเจ้าหน้าที่, ผู้นำชุมชน อสม. อบต. มีผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน 38 คน ร่วมหาปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์พบว่า ปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั้งในด้านสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงประชาชน
 หลักเกณฑ์คะแนน/ปัญหา ขนาดของปัญหา ความรุนแรงของปัญหา การตะหนักในปัญหาของชุมชน การสูญเสียทางเศรษฐกิจ ความยากหรือง่ายในการแก้ปัญหา รวมคะแนน
มะเร็งปากมดลูกและเต้านม 4 3 2 4 3 16
ไข้เลือดออก 4 3 4 3 4 18
โรคความดัน/เบาหวาน 5 3 4 4 4 20
มาลาเรีย 3 3 4 3 3 16
อุบัติเหตุ 3 3 2 3 3 14

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

“ สธ. เตือน!!! ” 6 โรคที่มาพร้อมกับหน้าหนาว



        สธ.เตือน 6 โรคที่มาพร้อมกับภัยหนาว ระบุ หนาวตั้งแต่พ.ย.-ก.พ. ย้ำ ที่ผ่านมามีผู้ป่วยกว่า 5 แสนราย เสียชีวิต 381 ราย ไม่แนะนำให้นำที่นอนเปียกน้ำมาใช้ เพราะมีความชื้นสูง เสี่ยงติดเชื้อง่าย
        ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศที่เย็นลง เอื้อต่อเชื้อโรคบางชนิดเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดโรคติดต่อหลายโรค ที่มักพบบ่อยในฤดูหนาวมี 6 โรค ได้แก่ โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคสุกใสและโรคอุจจาระร่วง กลุ่มประชาชนทีมีความเสี่ยงป่วยง่ายกว่าคนประชาชนทั่วไป ได้แก่ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด โรคโลหิตจาง เนื่องจากมีระดับภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว 

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อาหารการกิน ต้อนรับหน้าหนาว

      เมื่อตื่นขึ้นในยามเช้าได้สัมผัสลมเย็น ทำให้เราทราบว่าเริ่มเข้าฤดูหนาวแล้ว  เป็นฤดูที่หลายๆ ท่านอาจจะไม่ชอบเพราะอากาศแบบนี้สามารถทำให้ท่านเกิดอาการไม่สบายหรือที่เรียกกันว่าไข้หัวลม  และยังทำให้ผิวนุ่มๆ ของหลายท่านมีปัญหาแห้งแตกเป็นขุยได้  แต่ท่านไม่ต้องกลุ้มใจเพราะเรามีวิธีการดูแลตัวเองรวมถึงการดูแลผิวของท่านในหน้าหนาวมาฝาก 
        สำหรับข้อแนะนำในการดูแลตัวเองช่วงหน้าหนาวพบว่าบางครั้งท่านอาจจะมีอาการไข้ที่เรียกกันว่าไข้หัวลมเกิดขึ้นได้  ซึ่งมักจะมีอาการรู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ  หรือที่เรียกกันว่าครั่นเนื้อครั่นตัว   มีอาการมึนศรีษะ และอ่อนเพลีย และอาจมีอาการมีน้ำมูกร่วมด้วยก็ได้ ถ้าท่านมีอาการดังที่กล่าวมานี้  อาหารที่เหมาะสมกับท่านในมื้อนั้นก็คือ  แกงส้มดอกแค พร้อมข้าวสวยร้อน ๆ สักจาน  แค่นี้ร่างกายคุณก็พร้อมที่จะปรับสมดุลของร่างกายได้  อาการต่าง ๆ ก็จะทุเลาแล้วหายไปในที่สุด เพราะแกงส้มดอกแค    มีคุณค่าทั้งทางอาหารและสรรพคุณทางยาที่บรรพบุรุษไทยได้บันทึกไว้มาช้านาน

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง


   การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Examination) ถือเป็นสิ่งแรกที่จะช่วยให้ผู้หญิงทุกคนป้องกันตนเองจากมะเร็งเต้านม การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อให้รู้สึกถึงธรรมชาติของเต้านม และเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ก็จะสามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง โดยควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยตรวจเดือนละครั้ง
   ขั้นตอนและวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Examination : BSE) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
  1. การคลำ     80 – 90% ของมะเร็งเป็นก้อน ดังนั้น การคลำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การคลำไม่ใช่คลำเพื่อหาก้อน แต่ให้รู้สึกถึงธรรมชาติของเต้านมของเรา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะสังเกต และรู้สึกได้ง่าย บริเวณที่จะต้องคลำเริ่มจาก
  • ใต้แขน ถึงบริเวณขอบเสื้อชั้นในด้านล่าง
  • ใต้แขนข้ามมาถึงกระดูกกลาง
  • ขึ้นไปถึงบริเวณไหปลาร้า
  • กลับมายังรักแร้
3 นิ้วที่ใช้สัมผัส

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ความหมายของตราสัญลักษณ์
      กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายที่จะให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และพัฒนาสาธารณสุข จึงได้นำเอาการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลักในการพัฒนา ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (2520-2524) เป็นต้นมา โดยสนับสนุนให้มีการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักในความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชนเอง ซึ่งมีตัวจักรสำคัญในการดำเนินงาน คือ ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข(ผสส.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ต่อมาในปี 2535 ได้มีการยกระดับอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีเพียงระดับเดียวคือ อสม. ที่ต่างก็เสียสละแรงกายแรงใจ เวลา และทุนทรัพย์ในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านให้สามารถพึ่งตนเองได้ โดยมิได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

“ไม้สามเกรด” ยอดนวัตกรรมสุขภาพวัดขนาดหัวนมหญิง

" ไม้สามเกรด ” ยอดนวัตกรรมสุขภาพ              


สถานีอนามัยหินดาษคิดค้นนวัตกรรม “ไม้สามเกรด” ตรวจหัวนมหญิงตั้งครรภ์ เผยเกือบ 50% มีปัญหา นวัตกรรมใหม่ช่วยได้ แก้หัวนมสั้น แม่ให้นมลูกไม่ได้

  นางวรกาญจน์ ชากรแก้ว พยาบาลวิชาชีพ สถานีอนามัยหินดาษ ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ได้นำนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ“ไม้สามเกรด” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจหัวนมในหญิงตั้งครรภ์ โดย นางวรกาญจน์ กล่าวว่า เนื่องจากการตรวจหัวนมในหญิงตั้งครรภ์ที่ผ่านมา จะใช้วิธีการสังเกตด้วยตาว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งไม่มีมาตรฐานทำให้เกิดความผิดพลาดในการแปรผล ส่งผลให้เกิดปัญหามารดาไม่สามารถให้นมบุตรได้ ดังนั้น การตรวจเต้านมอย่างถูกต้อง ถือว่ามีความสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาหัวนมสั้นได้ โดยไม้สามเกรดช่วยลดความผิดพลาดในการตรวจหัวนมหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์เป็นครั้งแรกได้

“การที่มีหัวนมสั้นหรือบอด บุ๋ม จะทำให้ทารกดูดนมแม่ไม่ได้หรือ ดูดนมไม่ติด เด็กเกิดความหงุดหงิด รำคาญ ร้องกวน โยเย ในที่สุดก็ไม่อยากกินนมแม่ ส่วนตัวแม่ก็จะเจ็บหัวนม มีการอาการคัด ตึง เกิดการอักเสบ และให้เด็กกินนมผงแทนนมแม่” นางวรกาญจน์ กล่าว

นางวรกาญจน์ กล่าวต่อว่า ไม้สามเกรดเป็นการนำสิ่งเหลือใช้ในสถานีอนามัยมาดัดแปลง ทำให้ต้นทุนต่ำสามารถตรวจหัวนมหญิงตั้งครรภ์ได้ถูกต้องมีมาตรฐาน ซึ่งวิธีการใช้ก็ง่าย โดยนำไม้ซึ่งที่บริเวณปลายมีการกำหนดเป็น 3 สี คือ สีแดง มีหัวนมยาวจากโค่นถึงปลายยอด 0.1-0.3 เซนติเมตร ซึ่งหัวนมโผล่มานิดเดียว ถือว่าผิดปกติต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน ส่วนสีเหลืองมีหัวนมยาวจากโค่นถึงปลายยอด 0.4-0.6 เซนติเมตร ต้องรีบแก้ไข และสีเขียว หัวนมยาวจากโคนถึงปลายยอด 0.7-1 เซนติเมตร ถือว่าปกติ แต่หากจับหัวนมไม่ติดเลย คือ หัวนมบอดหรือบุ๋ม ซึ่งวิธีการตรวจจะวัดว่าหัวนมอยู่ตรงสีใดของไม้ แล้วจึงแนะนำวิธีการแก้ปัญหา

นางวรกาญจน์ กล่าวอีกว่า หลังจากที่มีการฝากครรภ์หญิงตั้งครรภ์ทุกรายจะได้รับการตรวจประเมินหัวนม, เต้านม และลงบันทึกในสมุดบันทึกการฝากครรภ์ และหากพบปัญหาหัวนมบอด หรือหัวนมสั้นก็จะแนะนำวิธีการแก้ไขหัวนมบอด โดยการใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้วางด้านข้างหัวนมและพยายามดึงแยกออกจากกัน ทำรอบๆ หัวนมซ้ำๆ วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น หลังอาบน้ำติดต่อกัน ก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ ส่วนในรายที่มีปัญหามากอาจเข้ารับการแก้ไขที่สถานีอนามัย โดยใช้วิธีการใช้กระบอกฉีดยาที่นำมาดัดแปลงเป็นที่แก้ไขหัวนมบอด ดึงหัวนมให้ยื่นออกมา

“จากการเก็บข้อมูลในปี 2550-2551 พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาหัวนมสั้น หรือบอด บุ๋ม 46% ซึ่งถือเป็นธรรมชาติของแต่ละคนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ขณะที่ส่วนใหญ่เมื่อตั้งครรภ์หัวนมก็จะใหญ่ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับลูก ดังนั้น เมื่อรู้ปัญหาเร็วก็ทำให้แก้ไขได้ทันท่วงที ซึ่งการใช้ไม้สามเกรดเป็นการช่วยแก้ปัญหาได้อย่างมาก” นางวรกาญจน์ กล่าว

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของสัญลักษณ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

สัญลักษณ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

        สัญลักษณ์เป็นรูปหัวใจ 4 ดวง ร้อยรัดเข้าด้วยกัน หัวใจ 4 ดวงมี ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงสาธารณสุขอยู่ตรงกลาง หัวใจ 4 ดวงถือเป็นกลไกหลักของการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนในตำบล ซึ่งต่อไปนี้จะต้องเดินหน้าด้วย 4 หลักสำคัญ
หัวใจดวงที่ 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
หัวใจดวงที่ 2 ผู้ที่ต้องเข้ามาช่วยทำหน้าที่ในหมู่บ้าน ตำบล และชุมชน คือ อสม.
หัวใจดวงที่ 3 แผนสุขภาพตำบลที่ขณะนี้กำลังร่วมกับ อสม.ทุกตำบล
หัวใจดวงที่ 4 กองทุนสุขภาพตำบล



นโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ พบ., อว., MPHM. 
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข 
   
ทำไมต้องมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล : เรื่องดีๆที่ต้องอธิบาย
    ประเทศไทยมีพัฒนาการด้านสุขภาพมายาวนาน ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นมาก เห็นได้จากโรคติดเชื้อสำคัญลดลง อัตราทารกตายและอัตราส่วนมารดาตายลดลงมาก คนไทยมีอายุเฉลี่ยสูงขึ้นมาก และมีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลก่อน คือ การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งทำให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ ทว่าระบบบริการที่มีอยู่ยังไม่อาจทำให้คนใช้บริการได้อย่างถูกที่ถูกทาง ประชาชนมักจะเชื่อถือและไปแออัดอยู่ที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ แม้ว่าโรคส่วนใหญ่ไม่ต้องการแพทย์ในการรักษา โดยเฉพาะแพทย์เฉพาะโรค การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคยังถูกละเลย ลงทุนด้านนี้น้อยทั้งๆที่ต้นทุนต่ำกว่าการรักษาเมื่อเจ็บป่วย และแนวโน้มการเกิดโรคที่เป็นภาระต่อสังคมและประเทศชาติ เปลี่ยนเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมและสามารถป้องกันได้ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และมะเร็ง การยกระดับสถานีอนามัยที่มีกว่า 9 พันแห่ง เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จึงเป็นจุดเปลี่ยนระบบสาธารณสุขครั้งสำคัญที่จะพัฒนาระบบบริการสุขภาพของ ประเทศไทย

เรื่องราวเกี่ยวกับบ้านหางแมว

ประวัติบ้านหางแมว
   “ บ้านหางแมว ” เป็นหมู่บ้านดั้งเดิม แต่เดิมนั้นจะมีหมู่บ้าน “ แก่งหางแมว ” เพียงหมู่บ้านเดียวซึ่งนับเป็นพี่ และได้มีการตั้งหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ จึงใช้ชื่อหมู่บ้านหางแมวซึ่งนับเป็นน้อง จากหมู่บ้านแก่งหางแมว และได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบันต่อมามีสถานีอนามัยซึ่งเป็นสถานีอนามัยสุด ท้ายที่ก่อตั้งในตำบลขุนซ่อง จึงตั้งชื่อสถานีอนามัยตามชื่อหมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ในหมู่บ้านเป็นคนต่างจังหวัด ส่วนมากจะมีพื้นฐานมาจากภาคอีสาน อพยพเข้ามาตั้งรกรากและจับจองที่ทำกินตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นป่ารก สถานีอนามัยบ้านหางแมวตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่นทำสวนยางพารา ทำไร่มันสำปะหลัง ทำนา ทำสวนผลไม้

ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต
   สถานีอนามัยบ้านหางแมว ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.ขุนซ่อง อ.แก่งหางแมว จันทบุรี อยู่ห่างจากโรงพยาบาลแก่งหางแมวประมาณ 9 กิโลเมตร ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแก่งหางแมวประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรีประมาณ 70 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
· ทิศเหนือ ติดต่อ หมู่ 2 ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
· ทิศใต้ ติดต่อ หมู่ 5 ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
· ทิศตะวันออก ติดต่อ หมู่ 14 และหมู่ 15 ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว
· ทิศตะวันตก ติดต่อ หมู่ 11 ตำบลแก่งหางแมว อำเภอแก่งหางแมว
ลักษณะภูมิประเทศในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหางแมว แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
· พื้นที่ดอนสลับราบลุ่ม
· พื้นที่ราบลุ่ม
· พื้นที่ราบลุ่มสลับหุบเขา
ลักษณะภูมิอากาศ
· มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 29-39 องศาเซลเซียส
· ฤดูฝนจะเริ่มมีฝนตกประมาณกลางเดือนพฤษภาคม
· ฤดูหนาวและฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
ปริมาณน้ำฝน
· จะมีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1500 – 1800 มิลลิเมตร/ปี
· มีวันฝนตกประมาณ 120-130 วัน/ปี
· เดือนที่มีฝนตกชุก คือเดือน สิงหาคมและเดือนกันยายน
· เดือนที่มีฝนตกน้อยคือเดือนธันวาคมและเดือนมกราคม

ด้านการศึกษา
· มีจำนวนโรงเรียน 2 แห่ง เป็นโรงเรียนสังกัดโรงเรียนตำรวนตระเวนชายแดน 1 แห่ง เปิดสอนชั้นอนุบาล 1-2 และชั้นประถมศึกษา 1-6 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 196 คน และมีโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จันทบุรี เขต1 จำนวน 1 โรงเรียน เป็นโรงเรียนสาขาวัดขุนซ่องห้องเรียนเคลื่อนที่คลองโป่ง เปิดสอนชั้นประถมศึกษา 1-6 มีจำนวนนักเรียน 74 คน
· มีศูนย์เด็กเล็กสังกัดองค์การปกคลองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง คือศูนย์เด็กเล็กวัดหางแมว มีจำนวนเด็กนักเรียน 30 คน และศูนย์เด็กเล็กวัดคลองโป่งมีจำนวนนักเรียน 20 คน มีครูอัตราจ้างทั้งหมด 4 คน

ด้านการศาสนา
   มีวัด 3 แห่ง วัดของศาสนาพุทธ
- วัดหางแมว หมู่ 4
- วัดวังพง หมู่ 4
- วัดคลองโป่ง หมู่ 10

ด้านการปกครอง
   มีรูปแบบการปกครองท้องถิ่น คือองค์การบริหารส่วนตำบลขุนซ่อง มีหมู่บ้านในความรับผิดชอบ 3 หมู่บ้านคือ
· หมู่ 4 บ้านหางแมว มีประชากรทั้งหมด 975 คน จำนวนหลังคาเรือน 251 หลังคาเรือน มีพื้นที่การปกครองโดยประมาณ 25,000 ไร่
· หมู่ 10 บ้านคลองโป่ง มีประชากรทั้งหมด 1,035 คน จำนวนหลังคาเรือน 280 หลังคาเรือน มีพื้นที่การปกครองโดยประมาณ 8,536 ไร่
· หมู่ 15 บ้านคลองใหม่ มีประชากรทั้งหมด 698 คน จำนวนหลังคาเรือน 158 หลังคาเรือน มีพื้นที่การปกครองโดยประมาณ 4,375 ไร่

ระบบบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
สถานีอนามัยบ้านหางแมวมีเส้นทางที่เดินทางเข้าออกได้สะดวก 2 ทางคือ
· เส้นทางที่ 1 ออกจากจังหวัดจันทบุรี ตามถนนสุขุมวิท (บางนา-ตราด) ตรงไปทางทิศตะวันตกถึงอำเภอนายายอามที่กิโลเมตร 42 เลี้ยวขวาไปตามถนนสายนายายอาม- ขุนซ่อง ถึงบ้านหนองกวาง (ทางแยกป้อมตำรวจ)เลี้ยวขวา 27 กิโลเมตรจะถึงตัวสถานีอนามัย
· เส้นทางที่ 2 ออกจากจังหวัดจันทบุรีตามถนนสุขุมวิท ถึงตลาดหนองคล้า ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่เลี้ยวขวาไปตามถนนหนองคล้า สุดถนนลาดยางที่ตำบลเขาแก้วอำเภอท่าใหม่จากนั้นเป็นเส้นทางลูกรัง ประมาณ 46 กิโลเมตร
· เส้นทางที่ 3 ออกจากจังหวัดจันทบุรี ไปทางเหนือถนนรักศักดิ์ชะมูล ถึงสามแยกเขาไร่ยา ตรงไปถนนสายน้ำตกกระทิง เข้าเส้นทางบ้านน้ำขุ่น ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏระยะทาง 50 กิโลเมตร
การสาธารณูปโภค
มีระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าภูมิภาคทุกหมู่บ้าน ระบบประปา มีประปาหมู่บ้านหมู่ละ 1 แห่ง บริหารงานโดยสมาชิกอบต.ต.ของแต่ละหมู่บ้าน

การประกอบอาชีพ
· การเกษตรกรรม ในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก แบ่งเป็นสวนยางพารา รองลงมาคือ ทำไร่มันสำปะหลัง ทำสวนผลไม้ ทำนาข้าว ส่วนที่เหลือเป็นผักสวนครัว
· ส่วนของการเลี้ยงสัตว์ส่วนมากเป็นการเลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว

ประชากร
   ประชากร ในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหางแมวจากการสำรวจในเดือน มิถุนายน 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,709 คน เป็นเพศหญิง 1,365 คน เป็นเพศชาย 1,344 คน และมีจำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 689 หลังคาเรือน 666 ครอบครัว
  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมาย
     * เด็กแรกเกิดถึง 4 ปี ร้อยละ 4.94
     * เด็กอายุ 5-9 ปี ร้อยละ 7.27
     * กลุ่มอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 9.00
     * วัยทำงานในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 7.16
     * วัยทำงาน 15-59 ปี ร้อยละ 68.36
     * วัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 10.40
  2. กลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ ร้อยละ 52.89 ของกลุ่มเพศหญิงทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 26.65 ของประชากรทั้งหมด

บุคคลากร สถานีอนามัยบ้านหางแมว

………………………………………………
DSCN2107 

นายกฤติธี ชำนาญศิลป์

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
รับผิดชอบ 
หมู่ 10 บ้านคลองโป่ง จำนวน 280 หลังคาเรือน ประชากร 1,035 คน
หมู่ 15 บ้านคลองใหม่ จำนวน 158 หลังคาเรือน ประชากร 658 คน
  • งานบริหาร
  • งานพัสดุ , ครุภัณฑ์
  • งานการเงิน , บัญชี
  • งานนิเทศควบคุมกำกับงาน
  • งานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มอายุ
  • งานครวบคุมโรคไม่ติดต่อ
  • งานระบบหลักประกันสุขภาพ
  • งานโครงการพิเศษ
  • งานบริหารเวชภัณฑ์
  • งานสุขภาพภาคประชาชน
  • งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • งานสุขาภิบาลอาหาร – ทั่วไป
  • งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  • งานธุรการ
  • งานสารบรรณ
  • ปรับปรุงภูมิทัศน์ของสถานบริการ ภายในและภายนอก
………………………………………………………………………………………………..
DSCN2122
     
 
นางสาวแสงรยา บุญเปรี่ยม
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
  รับผิดชอบ 
   หมู่ 4 บ้านหางแมว จำนวน 251 หลังคาเรือน ประชากร 975 คน

  •  

  • งานรักษาพยาบาล
  • งานอนามัยแม่และเด็ก
  • งานสุขภาพจิตและผู้พิการ
  • งานวางแผนครอบครัว
  • งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
  • งานยาเสพติดและ To be number one
  • งานควบคุมโรคติดต่อ / พื้นที่เฉพาะ
  • งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  • งานระบาดวิทยา
  • งานเอดส์
  • งานอนามัยโรงเรียน
  • งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
  • งานทันตกรรมป้องกัน
  • งานส่งเสริมทางทันตกรรม
………………………………………………………………………………………..
DSCN2106นางสาวเสาวลักษณ์ คุ้มบ้าน
ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  • งานบันทึกข้อมูลผู้ป่วย
  • งานบริการช่วยเหลือผู้ป่วย
  • งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
  • ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สาธารสุขตามที่ได้รับมอบหมาย
  • ประสานงานระหว่างองค์กรอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน
  • อำนวยความสะดวกแก่ผู้มารับบริการ

---------------------------------------------------------//---
DSCN2101
---//-----------------------------------------------------------

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สถานีอนามัยบ้านหางแมวในปัจจุบัน






   DSCN1999 (Small) 


DSCN1994 (Small)


DSCN1998 (Small)



DSCN2001 (Small)



















  สถานีอนามัยบ้านหางแมวในวันนี้ ยังคงพร้อมให้บริการพี่น้องทุกท่านที่มีปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาหรือ รักษาพยาบาล ด้วยบรรยากาศของการดูแลอย่างเป็นกันเองภายใต้สถานที่ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย และด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ที่พร้อมสรรพ มาปัญหาไม่ว่าเรื่องอะไรเรียนเชิญ เข้ารับการบริการได้ในเวลาราชการค่ะ